หนึ่งปีที่ผ่านไป แม้คนไทยจะไม่ลืมโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น แต่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับความเสียหาย และ “คำสัญญา” ที่จะปรับปรุงตัว กลับลืมไปแล้วสิ้น… และความ “ลืมง่าย” และ “ไม่รับรู้บทเรียน” เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้สังคมไทยยังวนลูปอยู่กับหลาย ๆ วัฒนธรรม หลาย ๆ การกระทำที่...
ปี: 2021
จากกระแส #ข่มขืนผ่านจอพอกันที #แบนเมียจำเป็น ทำให้เห็นว่าแม้ว่าเราจะมาถึงปีพ.ศ.2564 กันแล้ว แต่เรายังคงเห็นฉาก “ข่มขืน” ล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ อยู่ใน “ละครรัก” บนโทรทัศน์ไทยได้อย่างเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ใช่ในเชิงความเป็นละครสะท้อนสังคมอะไรด้วย แต่เป็นแค่ความบันเทิง ความสะใจในการได้ลงโทษนางร้ายใจร่านด้วยการข่มขืน และไม่ได้เป็นการจรรโลงใจหรือจรรโลงสังคมในทางใดได้เลย นอกจากบ่มเพาะค่านิยม...
อยู่ดีๆ คงไม่มีใครอยากเห็นคนอื่นถูกฆ่าตายหรอกจริงมั้ย? แต่การเรียกร้องให้มีโทษประหารชีวิตในตอนนี้ มันกำลังสะท้อนภาพ “ความหวาดกลัว” ที่ประชาชนมีต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เราไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าคนที่เดินสวนกับเราอยู่นี่ผ่านอะไรมาบ้าง? เรามองเห็นฆาตกรที่ได้รับโทษไม่กี่ปีแล้วก็ถูกปล่อยตัวออกมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แล้วกลับก่อเหตุซ้ำอีก
ทำไมคนบางคนที่ปกติแล้วดูมีสติ เซลฟ์ไม่ต่ำ มีความมั่นใจในตัวเอง มีจิตใจเข้มแข็ง แต่ในแง่มุมชีวิตส่วนตัว กลับเป็นคนที่ยอมอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ยอมทนอยู่กับคนรักแย่ๆ ที่บางทีก็ร้ายต่อใจจนถึงกับลงมือลงไม้ทำร้ายร่างกาย แต่ไม่ว่าจะทำเหมือนพยายามออกมาจากความสัมพันธ์นั้นกี่ครั้ง ผ่านการตัดสินใจที่จะมูฟออนออกมาให้ได้ แต่สุดท้ายก็ไม่วายกลับไปตายรัง ให้เขาทำร้ายวนๆไป ราวกับขาด “เขา” ไม่ได้
วันนี้ WE Think มีลิสต์หนังรักที่โรแมนติกไม่สุดมาฝากกัน เพราะความจริงแล้วมันคือ Toxic Relationship เคลือบน้ำตาล และเป็นการ romanticize แนวคิดเกี่ยวกับความโรแมนซ์แบบบิดเบี้ยว ที่อาจเคยทำให้แฟนหนังรักเหล่านี้หลายคนเผลอฝังความเชื่อใส่หัวตัวเองไว้ว่า “ความรักเป็นพิษ” ที่เต็มไปด้วยความหมกมุ่น การผูกขาดความพึ่งพาคนรักทางใจ ไปจนถึงการทนอยู่ในความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัย มีแต่การปะทุอารมณ์...
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ในปี พ.ศ. 2498 หรือเมื่อ 66 ปีที่แล้ว เป็นวันที่นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกลงโทษประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อเวลาตี 5...
ซีรีส์เชิงสารคดีเรื่อง Crime Scene : The Vanishing at the Cecil Hotel ที่สตรีมทาง Netflix ตอนนี้ เป็นสารคดีระทึกขวัญเกี่ยวกับคดีการตายของ Elisa Lam เมื่อปี...
ใครหลายคนคงเคยได้ยินเรื่อเรื่อง “ภาวะหมดไฟ” หรือ “Burnout Syndrome” ในแง่ของอาการเหนื่อยล้า เหนื่อยหน่ายในเรื่องการงาน อันมีสาเหตมาจากความเครียดจากงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดพัก การต้องทำงานที่มีความกดดันระยะยาว ยืดเยื้อ มองไม่เห็นฝั่ง หรือการทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอนแทนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะในเรื่องเงิน หรือ “คุณค่า” ที่ได้จากงาน ฯลฯ
ในภาวะเศรษษฐกิจฝืดเคืองขนาดนี้ แถมจะออกไปไหนยังลำบากเพราะโรคระบาด สิ่งหนึ่งที่เราทำคือเปิดเฟซบุ๊ก และพบว่าที่นั่นเป็นแหล่งรวมของ “โค้ชออนไลน์” เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นโค้ชด้านจิตวิทยาความสุข หรือโค้ชธุรกิจ เท่าที่ฟังมาเราพบว่า “โค้ชออนไลน์” ทั้งหมดนี้ สุดท้ายจะนำไปสู่ปลายทางเดียวกันคือ การมีทัศนคติที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง แต่นั่นทำให้เรารู้ “เอ๊ะ มันใช่เหรอ”...
เวลาพูดถึง sex worker ทีไร เราเบื่อการถกเถียงว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม หรือผิดศีลธรรมหรือไม่ ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทยหรือไม่ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีสัญชาตญาณทางเพศเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ การขาย sex ไม่มีวันหมดไปอย่างแน่นอน แม้แต่ในเมืองไทย ที่อาชีพนี้ถูกตีตราว่าต่ำต้อย และผิดกฎหมายมาโดยตลอด มันก็ยังมีคนทำอาชีพนี้อยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง