อยู่ดีๆ คงไม่มีใครอยากเห็นคนอื่นถูกฆ่าตายหรอกจริงมั้ย? แต่การเรียกร้องให้มีโทษประหารชีวิตในตอนนี้ มันกำลังสะท้อนภาพ “ความหวาดกลัว” ที่ประชาชนมีต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เราไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าคนที่เดินสวนกับเราอยู่นี่ผ่านอะไรมาบ้าง? เรามองเห็นฆาตกรที่ได้รับโทษไม่กี่ปีแล้วก็ถูกปล่อยตัวออกมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แล้วกลับก่อเหตุซ้ำอีก
วัฒนธรรม
ทำไมคนบางคนที่ปกติแล้วดูมีสติ เซลฟ์ไม่ต่ำ มีความมั่นใจในตัวเอง มีจิตใจเข้มแข็ง แต่ในแง่มุมชีวิตส่วนตัว กลับเป็นคนที่ยอมอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ยอมทนอยู่กับคนรักแย่ๆ ที่บางทีก็ร้ายต่อใจจนถึงกับลงมือลงไม้ทำร้ายร่างกาย แต่ไม่ว่าจะทำเหมือนพยายามออกมาจากความสัมพันธ์นั้นกี่ครั้ง ผ่านการตัดสินใจที่จะมูฟออนออกมาให้ได้ แต่สุดท้ายก็ไม่วายกลับไปตายรัง ให้เขาทำร้ายวนๆไป ราวกับขาด “เขา” ไม่ได้
เวลาพูดถึง sex worker ทีไร เราเบื่อการถกเถียงว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม หรือผิดศีลธรรมหรือไม่ ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทยหรือไม่ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีสัญชาตญาณทางเพศเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ การขาย sex ไม่มีวันหมดไปอย่างแน่นอน แม้แต่ในเมืองไทย ที่อาชีพนี้ถูกตีตราว่าต่ำต้อย และผิดกฎหมายมาโดยตลอด มันก็ยังมีคนทำอาชีพนี้อยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
สังคมที่เท่าเทียม ไม่ใช่การปล่อยให้คนพิการเข็นวีลแชร์บนถนนแย่ๆ “เท่าเทียม” กับคนอื่นแต่คือการอุดช่องว่างแห่ง “ข้อจำกัด” ให้พวกเขาเคลื่อนที่แบบใดก็ได้โดยที่ปลอดภัย “เท่าเทียม” กับคนอื่น